
“ต้องการเห็น ส.ส.ท. เป็นองค์กรสื่อสารมวลชนที่ประชาชนศรัทธา และรู้สึกเป็นเจ้าของ”
ขณะเดียวกันคนทำงานก็ภาคภูมิใจและมีความสุข ไม่ใช่อยู่กันไปวัน ๆ แบบประชาชนไม่ไยดี พนักงานก็หนีหาย
ภูมิทัศน์สื่อกำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน ส.ส.ท.ไม่อาจทำตัวเป็น “ทองไม่รู้ร้อน” ต่อสถานการณ์ใหม่นี้ได้ โดยเฉพาะหากไม่สามารถสร้างผลงานที่โดดเด่นและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญและตอบสนองสังคมไทยทุกระดับได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ก็อาจถูกตั้งคำถามว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนอย่างไรที่จะต้องให้งบประมาณถึงสองพันล้านบาทกับองค์กรสื่อสาธารณะแห่งนี้ การที่จะรักษาและทำให้องค์กรได้รับความศรัทธาจากสังคมจึงถือเป็นภารกิจที่สำคัญ
ท่ามกลางกระแสปฏิรูปในสังคมไทยปัจจุบัน ด้านหนึ่ง ส.ส.ท.จำเป็นที่จะต้องปฏิรูปองค์กรให้มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งการตรวจสอบที่สำคัญขององค์กรสื่อสาธารณะก็คือการตรวจสอบจากประชาชน ขณะที่อีกด้านหนึ่งคือการปฏิรูปบุคลากรอันเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร ให้บุคลากรทุกระดับมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ มีจิตสำนึกของคนทำสื่อสาธารณะและมีจรรยาบรรณ
ด้วยปัจจัยเหล่านี้นี่เองที่จะทำให้ ส.ส.ท.มีเกราะป้องกันอันวิเศษ ที่จะทำให้พ้นวิกฤตศรัทธาทั้งจากภายนอกและภายในองค์กรได้
- เกิดวันที่ 17 เมษายน 2498
- Special Student: The Annenberg School Of Communications, University of Pennsylvania, U.S.A.
- ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ปริญญาตรี ศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ผู้สื่อข่าว บรรณาธิการข่าว สื่อสิ่งพิมพ์
- ผู้ผลิตรายการ สถานีวิทยุบีบีซี ภาคภาษาไทย ประจำกรุงลอนดอน
- ผู้อำนวยการโครงการวิทยุผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการบริษัทอิเล็คทรอนิค มีเดีย จำกัด
- ทำงานที่บริษัทกรุงเทพวิทยุและโทรทัศน์ จำกัด สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
- คอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันและที่ปรึกษาด้านมัลติมีเดีย
- ปัจจุบัน เป็นนักสื่อสารมวลชนอิสระ